เผื่อออกครับ
การพัฒนาของระบอบประชาธิปไตยในประเทศตะวันตก
อังกฤษ
- เป็นแม่แบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
- ในสมัยการสร้างรัฐชาติ ( ค.ศ.1215 ) ขุนนางบังคับให้กษัตริย์ คือ พระเจ้าจอห์นที่ 5 ทรงยอมรับ " กฎบัตรแมกนาคาร์ดา " ซึ่งถือเป็นการสละสิทธิ์
ของพระมหากษัตริย์ที่อยู่เหนือกฎหมาย นำไปสู่การตั้งรัฐสภา ( สภาขุนนาง , สภาสามัญชน )
- เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายกษัตริย์และสภาสามัญชน โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ หันมาจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐ มีสภาเดียวและครอมเวลล์ก็ใช้การ
ปกครองในฐานะเผด็จการทหาร
- อังกฤษมีกษัตริย์ปกครองอีกครั้ง ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับสภายิ่งรุนแรงขึ้นภายหลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ( ค.ศ.1688) สมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2
แห่งราชวงศ์สจ๊วต นับเป็นชัยชนะเด็ดขาดของรัฐสภา ผลงานการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ถือเป็นการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐสภามีอำนาจสูงสุดอุดม
คติแห่งการปฏวัติของอังกฤษเป็นตัวอย่างและเป็นปฏิบัติการที่เป็นจริงของการเมืองตะวันตกในเวลานั้นๆ ( ค.ศ.1698)
- อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่ 18 สภาขันนางยังมีอำนาจมากกว่าสภาสามัญ จึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปฏิรูปรัฐสภา ( ค.ศ.1832-1867 ) มอบ
สิทธิการเลือกตั้งให้กับสามัญชนมากขึ้น
สภาขุนนางมีหน้าที่แค่ให้คำปรึกษา กษัตริย์เป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร กฏหมายรัฐธรรมนูยของอังกฤษมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์
อักษร แต่ยึดถือประเพณีและกฏปฏิบัติที่สืบต่อกันมา
สหรัฐอเมริกา
- อดีตอาณานิคมของอังกฤษ เพราะอาณานิคม 13 รัฐในอเมริกาก่อตั้งโดยชาวอังกฤษอพยพที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การกดขี่ทางศาสนาของอังกฤษ
- รัฐสภาอังกฤษบังคับชาวอาณานิคมขายสินค้ากับอังกฤษเท่านั้น ห้ามผลิตสินค้าแข่งกับอังกฤษ เมื่อรัฐบาลอังกฤษผูกขาดสินค้าใบชา ทำให้ชาวอาณานิคม
ทั้ง 13 รัฐประกาศอิสระภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776
- ได้รับแนวคิดทางการเมืองมาจากจอห์น ลอคและมองเตสกิเออ
- อเมริการ่างรัฐธรรมนูญ มีประมุขเป็นประธานาธิบดี แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รัฐสภาเรียกว่า
คองเกรส ประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร
ฝรั่งเศส
- กษัตริย์มีอำนาจมากโดยฉฃเฉพาะในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บอง
- ค.ศ.1289 ชนชั้นกลางโค่นล้มพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้สำเร็จ ระบบกษัตริย์สิ้นสุดลงเพราะเป็นการปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีแบบแผน ราชสำนัก
ฟุ่มเฟือย ประชาชนไม่ได้รับคงามยุติธรรม พระและขุนนางเป็นชนชั้นที่มีอภิสิทธิ์มาก ชนชั้นกลางมีส่วนเร่งเร้าการต่อสู้ของฝรั่งเศสอย่างมาก
- ได้รับแนวคิดจากนักปราชญทางการเมือง ได้แก่ จอห์น ลอค มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรุสโซ
- มีสภาฐานันดร แต่สามัญชนไม่มีสิทธิ์ 14 กรกฎาคม 1789 ประชาชนและปัญญาชนปฏิวัติใหญ่สมเร็จ ล้มล้างระบบราชาธิปไตย ประชาชนเรียกร้อง
เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ และประกาศหลังสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ถือเป็นแม่แบบให้เกิดการเรียกร้องเสรีภาพทางการเมือง